การปลูกข้าวแบบน้ำน้อย เทคนิค SRI

เทคนิคการปลูกข้าว

การใช้ปุ๋ยในนาข้าว

การใช้ปุ๋ยในนาข้าว

[ขยายดูภาพใหญ่ ]
เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ปุ๋ย คือ อาหารของพืชเช่น ข้าว พื้นที่นาที่ใช้ปลูกข้าวติดต่อกันมาเป็นเวลานาน จนแร่ธาตุต่าง ๆ ที่เป็นอาหารของต้นข้าวถูกดึงดูดเอาไปสร้างเป็นต้นและเมล็ดข้าวหมดลง ทำให้แร่ธาตุเหล่านี้ขาดแคลนไปจากพื้นนา ข้าวที่ปลูกในระยะหลังจึงให้ผลิตผลต่ำ ดังนั้น ชาวนาจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยใส่ลงไปในนาข้าวในปัจจุบัน เพื่อจะได้ผลิ ดผลสูงและมีรายได้มากยิ่งขึ้นจนพอกับความต้องการของครอบครัว

การปลูกข้าวเพื่อให้ได้ผลิตผลสูง

การปลูกข้าวเพื่อให้ได้ผลิตผลสูง


[ขยายดูภาพใหญ่ ]

การปลูกข้าวพันธุ์ดีเพื่อให้ได้ผลิตผลสูงนั้นควรปฏิบัติดังนี้

๑. การเตรียมดิน
๒. การเลือกใช้ต้นกล้าปักดำ
๓. เวลาที่เหมาะสมสำหรับการปลูกหรือปักดำ
๔. ระยะปลูก
๕. การใส่ปุ๋ย
๖. การป้องกันกำจัดโรคและแมลง
๗. การกำจัดวัชพืช
๘. การรักษาระดับน้ำในนา

การปลูกข้าวในภาคต่างๆของประเทศไทย

การปลูกข้าวในภาคต่างๆของประเทศไทย

[ขยายดูภาพใหญ่ ]
ประเทศไทยเป็นประเทศกสิกรรม ประชาชนส่วนใหญ่เป็นกสิกร

    • ภาคเหนือ

ทำการปลูกข้าวนาสวนในที่ราบระหว่างภูเขากันเป็นส่วนใหญ่ เพราะมีระดับน้ำในนาตื้นกว่า ๘๐ เซนติเมตร และทำการปลูกข้าว ไร่ในที่ดอนและที่สูงบนภูเขา เพราะไม่มีน้ำขังในพื้นที่ปลูก ส่วนมากชนิดของข้าวที่ปลูกเป็นทั้งข้าวเหนียวและ ข้าวเจ้า และในบางท้องที่มีการปลูกข้าวนาปรังด้วย

  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

สภาพของพื้นนาในภาคนี้เป็นที่ราบ และมักจะแห้งแล้งในฤดูปลูกข้าวเสมอ ๆ ชาวนาทำการปลูกข้าวนาสวน ทางตอนเหนือขอ งภาคปลูกข้าวเหนียวอายุเบา ส่วนทางตอนใต้ปลูกข้าวเจ้าอายุหนัก

  • ภาคกลาง

พื้นที่ทำนาในภาคนี้เป็นที่ราบลุ่มทำการปลูกข้าวเจ้ากันเป็นส่วนใหญ่ ในเขตจังหวัด ปทุมธานี อยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี อุทัย ธานี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก สุพรรณบุรี และปราจีนบุรี ระดับน้ำในนาระหว่างเดือนกันยายนและพฤศจิกายน จะลึกประมาณ ๑-๓ เมตร ด้วยเหตุนี้ ชาวนา ในจังหวัดดังกล่าวจึงต้องปลูกข้าวนาเมืองหรือข้าวขึ้นน้ำ นอกนั้นปลูกข้าวนาสวน

  • ภาคใต้

สภาพพื้นที่ที่ปลูกข้าวในภาคใต้เป็นที่ราบริมทะเล และเป็นที่ราบระหว่างภูเขา ส่วนใหญ่ใช้น้ำฝนในการทำนา และฝน จะมาล่าช้ากว่าภาคอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้การทำนาในภาคใต้จึงล่าช้ากว่าภาคอื่น ชาวนาในภาคนี้ปลูกข้าวเจ้าในฤดู นาปีกันเป็นส่วนใหญ่

การปลูกข้าว

การปลูกข้าว


[ขยายดูภาพใหญ่ ]

การปลูกข้าวเป็นงานที่สำคัญยิ่งของประเทศไทยตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว จนถึงกับได้มีพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขว ัญ เพื่อเป็นปฐมฤกษ์ในการทำนาปลูกข้าวของแต่ละปี จะได้เป็นสิริมงคลต่อพสกนิกรผู้ปลูกข้าว โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวจะมอบให้เจ้าหน้า ที่ฝ่ายเกษตรเป็นพระยาแรกนา ทำการไถและหว่านเมล็ดข้าว ชาวนาจะเก็บเมล็ดพันธุ์นี้ไปรวมกับเมล็ดพันธุ์ที่เขาใช้ปลูก เพราะ ถือว่าเป็นสิริมงคลยิ่ง๑. วิธีการปลูกข้าวการทำนา หมายถึง การปลูกข้าว การปลูกข้าวในประเทศไทยแบ่งออกได้เป็น ๓ วิธีด้วยกันดังนี้

  • การปลูกข้าวไร่
  • การปลูกข้าวนาดำ
  • การปลูกข้าวนาหว่าน

๒. การดูแลรักษาผู้ปลูกจะต้องหมั่นออกไปตรวจดูต้นข้าวที่ปลูกไว้เสมอๆ จะต้องมีการกำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ย พ่นยาเคมี๓. การเก็บเกี่ยวเมล็ดข้าวจะแก่พร้อมเก็บเกี่ยวได้ หลังจากออกดอกแล้วประมาณ ๓๐-๓๕ วัน อุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บเกี่ยวข้าว ได้แก่ เคียว และ แกระ ชาวนาในภาค เหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางใช้เคียวสำหรับเกี่ยวข้าว ส่วนชาวนาในภาคใต้ใช้แกระในการเกี่ยวข้าว๔. การนวดข้าวหมายถึง การเอาเมล็ดข้าวออกจากรวง แล้วทำความสะอาด เพื่อแยกเมล็ดข้าวลีบและเศษฟางข้าวออกไป เหลือไว้เฉพาะเมล็ดข้าวเปลือกที่ ต้องการเท่านั้น๕. การทำความสะอาดเมล็ดหมายถึง การเอาข้าวเปลือกออกจากสิ่งเจือปนอื่นๆ ซึ่งทำได้โดยวิธีต่างๆ ดังนี้

  • การสาดข้าว
  • การใช้กระด้งฝัด
  • การใช้เครื่องสีฝัด

๖. การตากข้าวหลังจากนวดและทำความสะอาดเมล็ดข้าวแล้ว จึงจำเป็นต้องเอาข้าวเปลือกไปตากอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่จะเอาไปเก็บไว้ในยุ้ง ฉาง เพื่อให้ได้เมล็ดข้าวเปลือกที่แห้งและมีความชื้นของเมล็ดประมาณ ๑๓-๑๕ % ทั้งนี้เพื่อรักษาคุณภาพเมล็ดข้าวให้ได้มาตรฐานอยู่ เป็นเวลานานๆ๗. การเก็บรักษาข้าวชาวนาจะเก็บข้าวไว้ในยุ้งฉาง เพื่อไว้บริโภคและแบ่งขายเมื่อข้าวมีราคาสูง และอีกส่วนหนึ่งชาวนาจะแบ่งไว้ทำพันธุ์ ฉะ นั้นข้าวพวกนี้จะต้องเก็บไว้เป็นอย่างดี โดยรักษาให้ข้าวนั้นมีคุณภาพได้มาตรฐานอยู่ตลอดเวลา และไม่สูญเสียความงอก

ลักษณะของข้าวที่สำคัญทางการเกษตร

ลักษณะของข้าวที่สำคัญทางการเกษตร


[ ขยายดูภาพใหญ่ ]

ลักษณะของข้าวที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เป็นลักษณะที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตและการให้ผลิตผลสูงของต้นข้าวในท้องที ่ที่ปลูก การทนต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงเสมอๆตลอดถึงคุณภาพของเมล็ดข้าว ฉนั้น พันธุ์ข้าวที่ดีจะต้องมีลักษณะเหล่านี้ ดี และเป็นที่ต้องการของชาวนาและตลาด ลักษณะที่สำคัญๆ มีดังนี้ 

๑. ระยะพักตัวของเมล็ด (seed dormancy)๒. ความไวต่อช่วงแสง (sensitivity tophotoperiod)

  • ข้าวที่ไวต่อช่วงแสง ข้าวพวกนี้ออกดอกเฉพาะในเดือนที่มีกลางวันสั้น
  • ข้าวที่ไม่ไวต่อแสง การออกดอกของข้าวพวกนี้ไม่ขึ้นอยู่กับความยาวของกลางวัน

๓. ความสามารถในการขึ้นน้ำและการทนน้ำลึก (floationg ability and tolerence to deep water)
๔. คุณภาพของเมล็ด (grain quality) คุณภาพของเมล็ดแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภทประกอบด้วยกัน คือ

  • คุณภาพเมล็ดทางกายภาพ หมายถึง ลักษณะรูปร่างและขนาดของเมล็ดที่มองเห็นได้
  • คุณภาพเมล็ดทางเคมี หมายถึง องค์ประกอบทางเคมีที่รวมกันเป็นเม็ดแป้งของข้าวที่หุงต้มเพื่อบริโภค
๕. ลักษณะรูปต้น (plant type) พันธุ์ข้าวที่ให้ผลิตผลสูงจะต้องมีลักษณะรูปต้นที่สำคัญๆดังนี้

  • ใบมีสีเขียวแก่ ตรง ไม่โค้งงอ แผ่นใบไม่กว้างและไม่ยาวจนเกินไป
  • ความสูงของต้นประมาณ ๑๐๐-๑๓๐ เซนติเมตร ความสูงของต้นเป็นระยะตั้งแต่พื้นดินถึงปลายของรวงที่สูงที่สุด
  • ลำต้นแข็ง ไม่ล้มง่าย
  • แตกกอมากและให้รวงมาก
๖. ความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูข้าว (resistance to diseases and insects)

 

ประโยชน์ของข้าว

ประโยชน์ของข้าว

[ ขยายดูภาพใหญ่ ]
ข้าวซึ่งแบ่งออกเป็นข้าวเหนียวและข้าวเจ้านั้น นอกจากจะใช้บริโภคเป็นอาหารหลักประจำวันของประชาชนแล้ว ยังใช้ทำเป็นอาหา รหวานชนิดต่าง ๆ ทำเป็นแป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวเจ้าและทำเส้นก๋วยเตี๋ยวอีกด้วย โดยเฉพาะข้าวเหนียวใช้ทำเป็นของหวานมากกว่าข้าวเจ้า ในโรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิตแอลกอฮอล์ก็ได้เอาข้าวเหนียวไปหุงแล้วผสมกับน้ำตาลและเชื้อยีสต์ เพื่อทำให้เกิดการหมัก (fermentatio n) โดยมีจุดประสงค์ให้ยีสต์เปลี่ยนแป้งเป็นแอลกอฮอล์ สำหรับใช้ผลิตวิสกี้และอื่น ๆ นี่คือประโยชน์ของข้าวที่ใช้ในประเทศไทย และ ส่งเป็นสินค้าขาออกไปขายต่างประเทศ

ชนิดของข้าว

ชนิดของข้าว

[ ขยายดูภาพใหญ่ ]
ข้าวที่ปลูกเพื่อบริโภค สามารถแบ่งออกได้เป็นชนิดต่างๆ ทั้งนี้ขึ้นอนู่กับสิ่งที่ใช้เป็นมาตรการสำหรับการแบ่งแยกข้าว

๑. แบ่งตามสภาพพื้นที่ปลูก เป็นข้าวไร่ ข้าวนาสวน และข้าวนาเมืองหรือข้าวขึ้นน้ำ

  • ข้าวไร่ หมายถึง ข้าวที่ปลูกบนที่ดอน ไม่มีน้ำขังในพื้นที่ปลูก
  • ข้าวนาสวน หมายถึง ข้าวที่ปลูกแบบปักดำหรือหว่าน และระดับน้ำในนาลึกไม่เกิน ๘๐ เซนติเมตร
  • ข้าวนาเมืองหรือข้าวขึ้นน้ำ หมายถึง ข้าวที่ปลูกแบบหว่าน และระดับน้ำในนาลึกมากกว่า ๘๐ เซนติเมตรขึ้นไป
๒. แบ่งตามชนิดของแป้งในเมล็ดที่บริโภค เป็นข้าวเจ้าและข้าวเหนียว ข้าวเจ้าและข้าวเหนียวมีต้นและลักษณะอย่างอื่นเหมือนกันทุกอย่าง แต่แตกต่างกันที่

  • เมล็ดข้าวเจ้า ประกอบด้วยแป้งอะมิโลส (amylose) ประมาณ ๑๕-๓๐ เปอร์เซ็นต์
  • เมล็ดข้าวเหนียว ประกอบด้วยแป้งอะมิโลเพกทิน (amylopectin) เป็นส่วนใหญ่ และมีอะมิโลสเป็นส่วนน้อย ประมาณ ๕-๗ เปอร์เซ็นต์ แป้งอะมิโลเพกทินทำให้เมล็ดข้าวม ีความเหนียว เมื่อหุงต้มสุกแล้ว

แหล่งกำเนิดของข้าว

แหล่งกำเนิดของข้าว

[ ขยายดูภาพใหญ่ ]
ข้าวที่เกิดขึ้นในท้องที่ต่างๆของโลกเรานี้ แบ่งออกได้เป็น ๓ พวก คือ ออไรซา ซาไทวา (oryza sativa) มีปลูกกันทั่วไป ออไรซา แกลเบ อร์ริมา (oryza glaberrima) มีปลูกเฉพาะในแอฟริกาเท่านั้น และข้าวป่าซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในประเทศต่าง ๆ ที่ปลู กข้าว มีด้วยกันหลายชนิด (species) แต่ที่สำคัญและควรทราบ ได้แก่ ออไรซา สปอนทาเนีย (oryza spontanea) ออไรซา เพเรนนิส (oryza perennis) ออไรซ า ออฟฟิซินาลิส (oryza officinalis) และออไรซา นิวารา (oryza nivara) และเป็นที่ยอมรับกันว่า ข้าวป่ าพวก ออไรซา เพเรนนิส ได้เป็นตระกูลของข้าวที่เราปลูกบริโภคกันทุกวันนี้ ซึ่งได้แก่ ออไรซา ซาไทวา และออไรซา แกลเบอร ์ริมา ดังนั้น ออไรซา เพเรนนิส จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในธรรมชาติ และได้ฝ่านการคัดเลือกโดยธรรมชาติและ มนุษย์ จนกลายเป็นข้าวที่ปลูกกันทุกวันนี้ นอกจากนี้ได้มีการเชื่อกันว่า แหล่งกำเนิดแห่งหนึ่งของข้างอยู่ในบริเวณภาคเหนือ ของประเทศไทยด้วย

Previous Older Entries

Blog Stats

  • 444 hits
กุมภาพันธ์ 2012
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
272829